มักจะมีคำถามอยู่เสมอว่า ดนตรีแจ๊สนั้นเป็นอย่างไร? คำถามนี้เหมือนเป็นคำถามโลกแตก 

คำตอบที่ได้นั้นมีหลากหลายแล้วแต่มุมมองและประสบการณ์ของแต่ละคน ผู้ฟังบางกลุ่มก็บอกว่าเป็นดนตรีที่ฟังสบาย ๆ ชิว ๆ เหมือนอยู่ทะเล บรรยากาศโรแมนติก แต่ในทางตรงข้ามผู้ฟังบางกลุ่มอาจจะบอกว่าดนตรีอะไรก็ไม่รู้ ฟังไม่รู้เรื่อง ฟังแล้วปวดหัว บางคนอาจจะกล่าวว่าเป็นดนตรีที่มีความอิสระในการบรรเลง นักดนตรีจะสามารถบรรเลงโดยการ ใช้อารมณ์และความรู้สึกของตนเอง แต่บางคนอาจจะกล่าวว่าการบรรเลงดนตรีแจ๊สนั้นยากมาก ดนตรีอะไรก็ไม่รู้ทำไมมีคอร์ด (Chord) ประหลาดเยอะแยะไปหมด ฯลฯ ดังที่ หลุย อาร์มสตรอง (Louis Armstrong ค.ศ. 1901-1971) นักทรัมเป็ตแจ๊สคนสำคัญได้กล่าวไว้ว่า “Man, if you have to ask what jazz is, you’ll never know.” เมื่อพี่ใหญ่ของวงการกล่าวแบบนี้ พวกเราจะว่าอย่างไร … ผู้เขียนขอแนะนำให้ผู้อ่านลองพิจารณาและถามตัวเองว่า “อะไรคือสิ่งที่ทำให้ผู้ฟังทราบว่าบทเพลงที่กำลังฟังอยู่นี้เรียกว่าดนตรีแจ๊ส” ดนตรีแจ๊สควรจะประกอบด้วยองค์ประกอบอะไรบ้าง

อ้างอิงจาก “ตำราทฤษฎีดนตรีแจ๊สและการอิมโพรไวส์” เขียนโดย ผู้ช่วยศาสตราจารย์ธีรัช เลาห์วีระพานิช อาจารย์ประจำวิทยาลัยดนตรี มหาวิทยาลัยรังสิต ได้อธิบายถึงเรื่ององค์ประกอบของดนตรีแจ๊สไว้อย่างละเอียดว่ามีทั้งหมด 5 ประการ 

ได้แก่ 

1) การอิมโพรไวส์สำหรับดนตรีแจ๊ส (Jazz Improvisation) 

2) จังหวะในดนตรีแจ๊ส (Jazz Rhythm) 

3) สำเนียงดนตรีแจ๊ส (Jazz Sound) 

4) เสียงประสานดนตรีแจ๊ส (Jazz Harmony)

5) สังคีตลักษณ์และโครงสร้างของดนตรีแจ๊ส (Jazz Form And Structure)


แน่นอนว่าเมื่อกล่าวถึงดนตรีแจ๊ส ผู้ฟังทุกคนคงจะนึกถึงการบรรเลงที่เน้นการด้นสดหรือการอิมโพรไวส์เป็นหลัก การอิมโพรไวส์คืออะไร? นักดนตรีและนักวิชาการต่างให้นิยามความหมายของการอิมโพรไวส์สำหรับดนตรีแจ๊สไว้หลากหลาย โดยสรุปได้ว่า การอิมโพรไวส์ คือ การแสดงคีตปฏิภาณ การด้นสด การประพันธ์ทำนองขึ้นอย่างฉับพลัน โดยไม่มีการตระเตรียมล่วงหน้า เป็นการบรรเลงที่แสดงออกถึงอารมณ์ความรู้สึกและความสามารถเฉพาะตัวของแต่ละบุคคล การอิมโพรไวส์สำหรับดนตรีแจ๊สมีหลายวิธี แต่ละวิธีต่างก็มีข้อดีแตกต่างกันไป ไม่มีรูปแบบหรือวิธีการบรรเลงที่ตายตัว ขึ้นอยู่กับอุปนิสัย ความชอบ และความถนัดของแต่ละบุคคล

เมื่อมองย้อนกลับไปยังรากฐานของดนตรีแจ๊ส จะพบว่าดนตรีแจ๊สได้รับอิมธิพลมาจากดนตรีของชาวแอฟริกัน ซึ่งเป็นดนตรีที่มีเอกลักษณ์โดดเด่นด้านจังหวะ โดยเฉพาะการใช้จังหวะขัด (Syncopation) ซึ่งเป็นการบรรเลงเน้นจังหวะ (Accentuation) ที่ไม่เป็นธรรมชาติ มักจะบรรเลงก่อนหรือหลังจังหวะตก (Downbeat) ความชื่นชอบในการบรรเลงจังหวะขัดของนักดนตรีแจ๊สส่งผลให้เกิดรูปแบบจังหวะชนิดหนึ่งที่เรียกว่า “จังหวะซวิง” (Swing) ดังนั้น จังหวะซวิงจึงเป็นรูปแบบจังหวะสำคัญของดนตรีแจ๊ส


สรุปดนตรีแจ๊สคืออะไร ผู้เขียนมีความคิดเห็นเช่นเดียวกับหลุย อาร์มสตรองที่ได้กล่าวเอาไว้ข้างต้น เพราะดนตรีแจ๊สเป็นเรื่องความรู้สึก ถึงแม้จะเป็นบทเพลงบรรเลงที่ไม่มีเนื้อร้อง ดนตรีแจ๊สกลับเป็นดนตรีที่สามารถถ่ายทอดเรื่องราว แสดงออกถึงประสบการณ์ชีวิต ลักษณะท่าทาง อุปนิสัย และรสนิยมของผู้บรรเลงได้อย่างไม่น่าเชื่อ ฉะนั้น เมื่อถามว่าดนตรีแจ๊สเป็นอย่างไร จึงไม่สามารถบรรยายออกมาเป็นคำพูดหรือตัวหนังสือได้ องค์ประกอบที่กล่าวมาทั้งหมดนี้ เป็นเพียงส่วนหนึ่งที่จะช่วยให้ผู้ฟังสามารถพิจารณาได้ว่าดนตรีที่ตนเองได้ยินนั้นเรียกว่าดนตรีแจ๊สหรือไม่ สำหรับความคิดเห็นส่วนตัวของผู้เขียนนั้น ผู้เขียนมองว่าดนตรีแจ๊สเป็นดนตรีที่เหมาะสำหรับการผสมผสาน เราสามารถเรียกดนตรีทุกประเภทว่าแจ๊สได้ หากดนตรีนั้นมีการอิมโพรไวส์เป็นองค์ประกอบหลัก ในหลายครั้งผู้เขียนมักจะถูกถามว่า ดนตรีแบบนี้เรียกว่าอะไร? เพลงนี้เป็นแจ๊สหรือเปล่า? เล่นแบบนี้เป็นแจ๊สแนวไหน? 

ผู้เขียนมักจะยิ้มแล้วก็ไม่ได้ตอบอะไร หลายครั้งที่ผู้เขียนรู้สึกว่าเราไม่มีความจำเป็นจะต้องไปจำแนกประเภทดนตรี จะเรียกชื่อดนตรีแนวอะไรก็ไม่สำคัญ เพราะอย่างไรดนตรีก็คือดนตรี เมื่อดนตรีคือเสียง ฉะนั้นเสียงก็คือดนตรี เราจะเรียกว่าอะไรนั้นก็เป็นเพียงชื่อสมมุติเท่านั้น
สิ่งหนึ่งที่ทำให้ดนตรีแจ๊สมีความแตกต่างจากดนตรีประเภทอย่างเห็นได้ชัดก็คือ การใช้สุ้มเสียงหรือสำเนียงที่เป็นเอกลักษณ์ของนักดนตรีแต่ละคน การผลิตเสียงของดนตรีแจ๊สไม่มีการตั้งมาตรฐานว่าเสียงลักษณะใดเป็นเสียงที่ดี นักดนตรีแจ๊สสามารถสร้างสรรค์เสียงของตนเองได้โดยไม่มีข้อจำกัด ทุกอย่างขึ้นอยู่กับความพึงพอใจของแต่ละบุคคล อีกทั้งดนตรีแจ๊สก็ไม่มีข้อจำกัดทางเครื่องดนตรี ไม่มีกฎเกณฑ์ตายตัว มีแต่กฎเฉพาะตัว เฉพาะบุคคล สำหรับเรื่องการใช้เสียงประสานดนตรีแจ๊ส รูปแบบสังคีตลักษณ์และโครงสร้างของดนตรีแจ๊ส เป็นสิ่งที่ดนตรีแจ๊สไม่ได้คิดค้นขึ้นมาเอง ดนตรีแจ๊สไม่ได้คิดค้นทฤษฎีหรือหลักการประสานเสียงของตนเอง เมื่อศึกษาทางด้านประวัติศาสตร์จะทราบว่า ดนตรีแจ๊สกำเนิดมาจากชาวแอฟฟริกันที่เป็นทาส พวกเขาเหล่านั้นจะมีองค์ความรู้สร้างสรรค์ทฤษฎีดนตรีใหม่ได้อย่างไร สิ่งที่เกิดขึ้นคือ พวกเขานำทฤษฎีดนตรีตะวันตกมาประยุกต์ใช้ ซึ่งทำให้เกิดเสียงที่แตกต่างและเหมาะสมกับการบรรเลงของตนเอง ฉะนั้น การสร้างเสียงประสานที่ทำให้เกิดเสียงที่แปลกหู จึงเป็นสิ่งที่ผู้ฟังมักจะได้ยินจากการฟังดนตรีแจ๊สอยู่เสมอ

ขอบคุณข้อมูลจาก มหาวิทยาลัยรังสิต https://www2.rsu.ac.th/sarnrangsit-online-detail/Lifestyle_JazzAjKook

Facebook
Twitter

บทความอื่นๆที่น่าสนใจ

งานประชาสัมพันธ์ สมาคมแซ็กโซโฟน (ประเทศไทย) ศูนย์รวมนักแซ็กโซโฟนแห่งแรกของไทย พร้อมกับ แถลงข่าว ความร่วมมือในส่วนของกิจกรรม กับ วิทยาลัยดุริยางคศิลป์ มหาวิทยาลัยมหิดล

สมาคมแซ็กโซโฟน ร่วมกับวิทยาลัยดุริยางคศิลป์ จัดแข่งขันThailand International Saxophone Competition 2024 ปั้นนักแซ็กไทยสู่สากล

Read More »

5 วิธีการดูแลรักษากีตาร์ อย่างถูกวิธี

ในบทความนี้จะเกี่ยวกับการดูแลรักษากีตาร์ ไม่ว่าคุณจะเป็นมือกีตาร์อาชีพหรือมือกีตาร์สมัครเล่น การดูแลรักษากีตาร์นั้นมีความสำคัญ…….

Read More »

10 คำแนะนำเพื่อการซ้อมที่มีประสิทธิภาพ

ช่วงนี้หลายคนต้องอยู่บ้าน นักดนตรีหลายคนก็ต้องซ้อมอยู่บ้าน บางคนอาจจะกำลังหาไอเดีย หรือ แรงบันดาลใจในการซ้อมดนตรีอยู่…

Read More »

“Clarinet” (คลาริเนท)

คลาริเนท กำเนิดในยุคปลายของบาร็อค เรียกว่า ปี่ chalumeau (ชาลุมมู)​ เพื่อเอามาแทนทรัมเปตในการเล่นโน้ตยากๆ เนื่องจากยุคนั้นทรัมเปต…

Read More »

BLUE GIANT เป่าฝันให้เต็มฟ้า

BLUE GIANT เป่าฝันให้เต็มฟ้า คือภาพยนตร์อนิเมะที่ดัดแปลงมาจากมังงะชื่อเดียวกันซึ่งโด่งดังมากในญี่ปุ่นของ ชินอิจิ อิชิซึกะ ว่าด้วยเรื่องราว…

Read More »

ดนตรีแจ๊ส คืออะไร

มักจะมีคำถามอยู่เสมอว่า ดนตรีแจ๊สนั้นเป็นอย่างไร? คำถามนี้เหมือนเป็นคำถามโลกแตก  คำตอบที่ได้นั้นมีหลากหลายแล้วแต่มุมมองและประสบการณ์ของ…

Read More »
ห้องอัด bandmusic
JR2S
TOP SOLID
bn_thebandmusic 1
FG800 (all colours)