ประวัติของกลองชุด

กลองชุดเป็นชื่อเรียกภาษาไทย มีความหมายถึง กลองหลายใบ ภาษาอังกฤษ ใช้ Team Drum หรือ Jazz Drum ทั้งสองชื่อมีความหมายเหมือนกัน คือ การบรรเลงกลอง ครั้งละหลายใบ คำว่า “แจ๊ส (Jazz) หมายถึง ดนตรีแจ๊ส ซึ่งใช้กลองชุดร่วมบรรเลง จึงเรียกว่า Jazz Drum และยังมีชื่อเรียกกลองชุดเป็นภาษาอังกฤษ ว่า Dance Drumming หมายถึงกลองชุดใช้บรรเลงจังหวะเต้นรำ
🥁🥁 กลองชุดประกอบด้วย กลองลักษณะต่าง ๆ หลายใบ และฉาบหลายอันมารวมกัน โดยใช้ผู้บรรเลงเพียงคนเดียว กลองชุดนี้ตามประวัติของดนตรีไม่ปรากฏว่าได้เข้าร่วมบรรเลงกับวงดนตรีดุริยางค์สากล ซึ่งเป็นวงดนตรีขนาดใหญ่ แต่ใช้บรรเลงร่วมกับวงดนตรีแจ๊ส และวงดนตรีที่มีเครื่องดนตรีน้อยชิ้นบรรเลงได้แก่ วงคอมโบ้ (Combo) วงสตริงคอมโบ้ (String Combo) ฯลฯ
🥁🥁 คนตีกลองพยายามปรับปรุงวิธีการบรรเลง โดยบรรเลงตามจังหวะที่ได้ยินแล้วนำมาปรับปรุงโดยการคิดค้นระบบใหม่ขึ้น ซึ่งนับว่าเป็นระบบที่ได้ริเริ่มขึ้นเป็นครั้งแรก โดยการบันทึกอัตราส่วนของจังหวะกลองในบทเพลง การบันทึก บทเพลงนั้นประกอบด้วย ทำนองเพลง การประสานเสียงและจังหวะ ทำให้ดนตรีมีการประสานเสียงกลมกลืน เพิ่มความไพเราะมากยิ่งขึ้น การริเริ่มพัฒนากลองชุดเป็นครั้งแรก โดยเริ่มต้นจากบทเพลงจังหวะวอลซ์ (Waltz)
ในช่วง ค.ศ. 1890 ถึง ค.ศ. 1910 นักตีกลองชุดเริ่มแยกออกจากแบบดั้งเดิม พยายามที่จะแสดงออกถึงความรู้สึกที่เป็นอิสระของดนตรี แทนแบบเก่าที่มีแบบแผนบังคับ ให้ปฏิบัติตามการแสดงถึงความก้าวหน้าของนักตีกลองชุดคือ จะเติมความสนุกสนานลงในช่วงปลายประโยคเพลง
🥁🥁 ปี ค.ศ. 1910 ถึง ค.ศ. 1920 จังหวะ แร็กไทม์ (Ragtime) ได้รับความนิยมมากเพราะเป็นจังหวะใหม่และน่าตื่นเต้น ลักษณะจังหวะแร็กไทม์ เป็นจังหวะเร็ว และรวบรัดชวนให้เต้นรำสนุกสนาน เป็นที่ชื่นชอบของชนชาวผิวดำ แต่นักตีกลองส่วนใหญ่ โดยเฉพาะคนรุ่นเก่าปฏิเสธของใหม่ โดยตระหนักถึงรูปแบบจังหวะของดนตรีอิสระ และเรียกพวกนักตีกลองชุดจังหวะ แร็กไทม์ว่า “ของปลอม” เพราะบรรดานักตีกลองชุดรุ่นใหม่บรรเลงโดยการใช้ความจำและบรรเลงอย่างใช้อิสระโดยไม่ใช้โน้ตเพลง
ต้นศตวรรษที่ 20 ปี ค.ศ. 1920 ดนตรีแจ็สเริ่มได้รับความนิยมอย่างช้าๆ บรรดานักตีกลองชุดรุ่นเก่าที่ไม่ยอมเปลี่ยนแปลงการบรรเลงจำต้องยอมพ่ายแพ้แก่นักตีกลองชุดรุ่นใหม่ที่มีชื่อเสียง จังหวะการบรรเลงค่อยๆเริ่มเปลี่ยนแปลงบ้างเล็กน้อย ทั้งนี้เพื่อให้สอดคล้องกับความต้องการและรสนิยมของผู้ฟัง แต่อย่างไรก็ตาม นักตีกลองจะต้องทราบเกี่ยวกับการรัวการทำเสียงให้สั่นสะเทือน
ต่อมาในปี ค.ศ. 1928 ถึง ค.ศ. 1935 เป็นยุคของซิมโพนิค-แจ๊ส (Symphonic- Jass) จังหวะของดนตรีมีทั้งจังหวะเร็วและช้า การบรรเลงจังหวะช้านั้น เริ่มมีการใช้แปรงลวด (Wirebrushes) หรือภาษานักตีกลองเรียกว่า “แซ่”
🥁🥁 ปี ค.ศ. 1935 จังหวะแบบใหม่ที่มีชื่อว่า สวิง (Swing) เริ่มแพร่หลายช่วงตอนต้นของปี บทเพลงทุกเพลงต้องมีกลองชุดเข้าร่วมบรรเลงด้วยเสมอ นับเป็นครั้งแรกที่นักตีกลองชุดเข้าถึงจุดสุดยอด ซึ่งมีความสำคัญมาก จัดอยู่ในระดับสูงสุด เพราะไม่มีงานไหนจะสมบูรณ์แบบถ้าขาดกลองชุดและการบรรเลงเดี่ยว (Solo) ถึงขนาดนักตีกลองชุดที่เก่งๆมีชื่อเสียงนำชื่อของตนเองมาตั้งเป็นชื่อของวงดนตรี ในยุคนี้จึงถือว่าเป็นยุคของนักตีกลองชุดที่ประสบความสำเร็จอย่างสูง
หลังจากสงครามโลกครั้งที่สองสงบลง รสนิยมของบุคคลทั่วไปเริ่มเปลี่ยนแปลง ดนตรีแบบคอมโบ้ (Combo) เริ่มได้รับความนิยมอย่างแพร่หลาย นักตีกลองเริ่มเบื่อหน่ายการบรรเลงจังหวะเก่าๆ มีการริเริ่มจังหวะใหม่ๆ โดยใช้กลองใหญ่ช่วยเน้นจังหวะ เรียกว่า บ๊อพ (Bop) หลังจากนั้นจึงเข้าสู่ยุคของการบรรเลงด้วยนิ้วมือ (Finger Drumming Techinque) คือการบรรเลงด้วยเทคนิคที่ใช้นิ้วมือปฏิบัติทั้งสองข้าง โดยใช้ไม้ตีกลองมือขวา ตีฉาบด้านขวามือ ซึ่งเป็นการรักษาจังหวะให้มั่นคงแน่นอน แล้วเปลี่ยนมือขวามาตีไฮแฮท (Hi Hat) อยู่ด้านซ้ายมืออย่าง
🥁🥁🥁 ต่อเนื่อง เท้าขวาเหยียบที่กระเดื่องกลองใหญ่เน้นเสียงหนักแน่นมั่นคง มือซ้ายตีกลองเล็กและฉาบอย่างอิสระโดย การเน้นเสียง เช่น การตีเน้นเสียงที่ริมขอบกลอง หรือ การตีหนักๆที่กลางกลอง ผู้ที่มีเทคนิคการบรรเลงด้วยนิ้วมือได้ดี คือ โจ โจนส์ (JO JONES) โจนส์ใช้มือขวาตีที่หัวฉาบมือซ้ายตีขอบฉาบอย่างชำนาญและเชี่ยวชาญ
🥁 อันนี้ก็เป็นประวัติคร่าว ๆ ของกลองชุดนะครับ เห็นไหมครับว่าประวัติดูน่าสนใจไม่น้อยเลย หากท่านใดสนใจจะรู้จักเครื่องดนตรีชนิดนี้เพิ่มขึ้นติดต่อกันเข้ามาได้เลยนะครับ 🥁